นับเป็นอีกหนึ่งอนุสรณ์สถานและโบราณวัตถุอันล้ำค่าสืบทอดมาจากประวัติศาสตร์อันยาวนานที่อยู่คู่กับจังหวัดชัยภูมิ ใบเสมาบ้านกุดโง้งแห่งนี้เป็นเสมาหินทรายศิลปะทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่12-13ที่พบในภาคอีสานอันเป็นโบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงชุมชนในยุคสมัยทวาราวดีซึ่งเป็นยุคของกาลเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิหินยานได้มีการเผยแผ่เข้ามา ซึ่งใบเสมานี้ได้ถูกใช้ปักเพื่อเป็นการกำหนดเขตในการทำพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศานา ซึ่งใบเสานกุดโง้งแห่งนี้ได้มีการเก็บรักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม ที่พบเป็นจำนวนมากซึ่งไม่ได้ปรากฏแต่เพียงแค่บริเวณวัดดังเช่นใบเสนาอื่น ๆ ที่เมื่อกล่าวถึงแล้วต้องนึกถึงใบเสนาที่อยู่รอบบริเวณวัดแต่สามารถพบได้ในบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านด้วย จึงได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ โดยส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย ลวดลายที่ปรากฏเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่าง ๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน นอกจากนี้ใบเสมาบางแผ่นปรากฏมีจารึกอักษรปัลลวะของอินเดียใต้อีกด้วย