นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณประจำปี 2565 ซึ่งเป็นงบกลางจำนวน 574 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โรคระบาดร้ายแรงในสุกร เป็นค่าใช้จ่ายสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.-15 ต.ค. 64 ซึ่งมีเกษตรกรที่กรมปศุสัตว์ได้ทำลายสุกร ไปแล้ว แล้วยังไม่ได้รับเงินชดเชย เกษตรกรจำนวน 4,941 ราย และสุกรจำนวน 159,453 ตัว จำนวนเงิน 574.11 ล้านบาท ในพื้นที่ 56 จังหวัดทั่วประเทศ ดังนี้
- ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ และ สุพรรณบุรี
- ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว
- ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองบัวลำภู มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ หนองคาย บึงกาฬ ร้อยเอ็ด นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร สกลนคร และยโสธร
- ภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
- ภาคใต้ 10 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง กระบี่ ระนอง นครศรีธรรมราช ชุมพร พัทลุง พังงา และสงขลา
โดยใช้แนวทางในการรับการจัดสรรชดใช้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามพรบ.โรคระบาด พ.ศ. 2558 ซึ่งได้มีการพิจารณาจากคณะกรรมการประเมินตามกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายราคาสัตว์ที่ถูกทำลายเนื่องจากเป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2560
โดยที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการระบบเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง กำกับดูแลให้เกษตรกรตลอดจนการป้องกันการควบคุมโรค ให้มีรั้วรอบฟาร์ม และตั้งจุดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม โรคระบาดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF มีมาแล้วกว่า 100 ปี แต่ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ระยะที่รักษาโรคได้ซึ่งในประเทศไทยทางกรมปศุสัตว์ร่วมกับจุฬาฯ ร่วมกันทำวิจัยพัฒนาวัคซีน โดยขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 60-70 โดยคาดว่าสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้ในปีนี้ และถือได้ว่าเป็นประเทศแรกของโลก