04 ต.ค. 2565 | 12:14:30
ปภ. เผยยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัย 18 จังหวัด และน้ำล้นตลิ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 5 จังหวัด เร่งระบายน้ำและช่วยเหลือประชาชนเต็มกำลัง
วันนี้ (4 ต.ค. 65) เวลา 10.50 น. ปภ.รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับผลกระทบจากพายุโนรู ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยในพื้นที่ 28 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ ตาก พิจิตร อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร กาญจนบุรี สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 128 อำเภอ 368 ตำบล 1,276 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,339 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ น่าน แพร่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และปราจีนบุรี รวม 92 อำเภอ 281 ตำบล 1,083 หมู่บ้าน ขณะที่น้ำล้นตลิ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังคงมีสถานการณ์ 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี และชัยนาท รวม 20 อำเภอ 158 ตำบล 745 หมู่บ้าน ประสานพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหายและให้ช่วยเหลือประชาชน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย อีกทั้งผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรู ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมแรงในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 4 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์ภัยในพื้นที่ 28 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ ตาก พิจิตร อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร กาญจนบุรี สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 128 อำเภอ 368 ตำบล 1,276 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,339 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด 92 อำเภอ 281 ตำบล 1,083 หมู่บ้าน ดังนี้
1. เชียงใหม่ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
2. ลำพูน น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอป่าซาง รวม 8 ตำบล 20 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
3. เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ อำเภอหล่มสัก และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ รวม 37 ตำบล 151 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,070 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4. พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอดงเจริญ อำเภอทับคล้อ อำเภอบึงนาราง และอำเภอบางมูลนาก รวม 25 ตำบล 113 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว
5. ตาก น้ำในคลองแม่ระกาไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตาก อำเภอแม่ระมาด อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก รวม 6 ตำบล 37 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,342 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
6. อุตรดิตถ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าพระ อำเภอพิชัย อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอทองแสงขัน รวม 17 ตำบล 75 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
7. น่าน น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหลวง และอำเภอนาน้อย รวม 6 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
8. แพร่ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเด่นชัย อำเภอวังชิ้น อำเภอเมืองแพร่ และอำเภอสูงแม่น รวม 5 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 176 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
9. นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองบัว อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี อำเภอโกรกพระ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอตาคลี อำเภอลาดยาว และอำเภอชุมแสง รวม 35 ตำบล 177 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,740 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
10. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และอพยพประชาชน 379 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 16 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
11. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอตระการพืชผล รวม 19 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,260 ครัวเรือน อพยพประชาชน 117 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 74 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
12. ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น และอำเภอชนบท รวม 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
13. ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแทน อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอหนองบัวระเหว รวม 35 ตำบล 113 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,389 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
14. นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย และอำเภอสูงเนิน รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
15. บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านด่าน อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอนางรอง อำเภอปะคำ อำเภอบ้านกรวด อำเภอกระสัง อำเภอคูเมือง อำเภอชำนิ และอำเภอลำปลายมาศ รวม 31 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 308 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
16. เลย น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 2 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 127 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
17. กาญจนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา และอำเภอไทรโยค รวม 9 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 76 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
18. ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอประจันตคาม รวม 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,363 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
ขณะที่สถานการณ์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เมื่อช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทย มีฝนตกหนักบางแห่ง และน้ำในแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขามีปริมาณมาก ทำให้ยังคงมีสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี และชัยนาท รวม 20 อำเภอ 158 ตำบล 754 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องและจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
Share this: