กมธ.คุ้มครองผู้บริโภคฉุน ‘ทรู-ดีแทค’ เทนัดให้ความเห็นรวมกิจการ เผยดีลฉลุยรัฐวืดเงิน 1,586 ลบ./ปี
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม นายมานะ โลหะวณิชย์ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร เชิญผู้เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที เป็นต้น ร่วมพิจารณาศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคจากกรณีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทค ครั้งที่ 2 ว่า
ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเนื่องจาก กสทช.ส่งตัวแทนที่ไม่ใช่ด้านกฎหมายเข้าให้ความเห็นจึงไม่สามารถตอบข้อซักถามของ กมธ.ได้อย่างครบถ้วน ประกอบกับผู้ขอควบรวมกิจการปฏิเสธเข้าร่วมเป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกให้เหตุผลว่าเคยเข้าชี้แจงแล้วในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญ ส่วนครั้งที่ 2 ได้เข้าชี้แจงรายละเอียดต่อ กสทช.แล้ว
ข่าวน่าสนใจอื่น :
- เอไอเอส ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ซื้อหุ้น ‘3BB-JASIF’
- ‘เอไอเอส’ ทุ่มหนัก! ผนึก ‘เอ็นที’ ทำ 5G บนคลื่น 700 ครองแชมป์คลื่นมากสุดในอุตสาหกรรม
“การปฏิเสธเข้าให้ความเห็นทั้ง 2 ครั้งของผู้ขอควบรวมเหมือนไม่ให้เกียรติ กมธ. เพราะอาจมองว่าไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ในฐานะผู้บริโภคการควบรวมกิจการดังกล่าวส่งผลกระทบแน่นอน ทั้งการดำเนินธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดการผูกขาด หรือมีอำนาจเหนือตลาด การพัฒนาคุณภาพสัญญาณและราคาค่าบริการ ดังนั้น กมธ.จึงต้องพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา
ซึ่งขณะนี้ได้ส่งหนังสือเชิญไปยังผู้ขอควบรวมเพื่อเข้าให้ความเห็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย และได้กำชับ กสทช.ให้ส่งตัวแทนด้านกฎหมายเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ หากผู้ขอควบรวมยังปฏิเสธที่จะเข้าให้ความเห็นอีก จะสรุปข้อคิดเห็นในชั้นกรรมาธิการว่าไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการ และเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป” นายมานะกล่าว
- โฟกัสกรุ๊ป ควบรวมทรู-ดีแทค เดือด! นักวิชาการ ฉะ ทำเงินเฟ้อพุ่ง-จีดีพีหด-ค่าบริการแพง
-
นักวิชาการ หวั่น ‘ควบรวมทรู-ดีแทค’ ซ้ำรอยค้าปลีก จับตารบ.เลือกอำนาจทุน หรือประชาชน
นายมานะกล่าวว่า การควบรวมกิจการสองผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ในประเทศเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าหากสามารถควบรวมกิจการได้จริง ภาครัฐจะต้องสูญเสียรายได้ราว 1,586 ล้านบาทต่อปี (ค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง เงินภาษีที่ดีแทคจ่ายให้รัฐบาล) เนื่องจากผลประกอบการของทรูที่ผ่านมาขาดทุน และงบการเงินติดลบต่อเนื่อง จึงจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำ ส่วนดีแทคมีกำไร จึงจ่ายภาษีในอัตราที่เหมาะสม ดังนั้น หลังควบรวมกิจการ ผลประกอบการของบริษัทใหม่อาจไม่ติดลบหรือกำไรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะกระทบกับการจ่ายภาษีโดยตรง สร้างความเสียหายให้รัฐอย่างแน่นอน
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่